272593
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนก่อน
สัปดาห์ก่อน
เดือนนี้
รวม
49
123
1150
158892
3138
2806
272593

IP: 3.145.170.226
2024-12-21 13:42

เห็ดหลินจือหรือเห็ดหมื่นปี เป็นสมุนไพรหายาก ถิ่นกําเนิดอยู่ในป่าเขาของจีน

ปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงได้ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย และได้ เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ที่ประกอบด้วยงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ งานวิจัย โรงเพาะเห็ดและโรงผลิตน้ำเห็ดหลินจือรสน้ำผึ้งบรรจุกระป๋อง รวมทั้งการผลิตเห็ดฝานเป็นแผ่นบรรจุซอง ใช้บริโภคเพื่อการบํารุงร่างกายตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา มีนักวิชาการหลายประเทศได้ทําการวิจัยเห็ดหลินจืออย่างกว้างขวาง มีเอกสารวิชาการที่เผยแพร่ออกมามากกว่าร้อยฉบับ ทั้งด้านการศึกษาองค์ประกอบทางเคมี สารออกฤทธิ์ สรรพคุณทางยา มีการทดลองในห้องปฏิบัติการและรายงานเชิงสถิติทางการแพทย์ในการรักษาโรค ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็ง การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค การรักษาอาการแพ้ การบํารุงตับ การกําจัดพิษ การรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การลดไขมันในเลือด การบรรเทาปวด ลดการอักเสบ ไปจนกระทั่งการชะลอความแก่ โดยเฉพาะการตรวจสอบทางพิษวิทยาพบว่าเป็นสารสมุนไพรที่มีความปลอดภัย ไม่มีอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใดลักษณะทางชีววิทยาของเห็ดหลินจือเห็ดหลินจือเป็นราขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในอาณาจักรรา ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสังเคราะห์อาหารจากแสงแดดได้เหมือนพืชทั่ว ๆ ไป ต้องดํารงชีพโดยการได้รับสารอาหารจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งมักเป็นซากพืช เช่น ขอนไม้ เห็ดจะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยสลายวัสดุรองรับที่เป็นอาหารแล้วดูดซึมเข้าสู่เซลล์ วัสดุรองรับตามธรรมชาติ หรือวัสดุเพาะเลี้ยง จึงมีความสําคัญต่อการเจริญเติบโตเห็ดหลินจือเป็นเห็ดที่ไม่เหมือนกับเห็ดที่คนทั่วไปรู้จักอยู่แต่เดิมเพราะไม่มีครีบใต้หมวกดอกเหมือนเห็ดที่พบในตลาดทั่วไป ลักษณะโครงสร้างของดอกแข็งแรง ก้านและหลังดอกที่ถูกน้ำฝนชะล้างจะเป็นเงามันเหมือนเคลือบด้วยแลคเกอร์ ดอกที่เกิดใหม่จะมีลักษณะเป็นแท่งชูขึ้น ปลายหน่อจะมีสีขาวหม่นดอกเห็ดจะเจริญเติบโตขนานไปกับพื้นโลก เมื่อดอกโตจะแผ่ออกมีรูปร่างคล้ายรูปไตของคนดอกอ่อนจะมีขอบนอกเป็นสีขาว แล้วค่อย ๆ เหลืองเข้ามาด้านในจนเป็นสีน้ำตาลและสีน้ำตาลแดงในที่สุด ก้านดอกจะอยู่กลางดอก หรือด้านข้างของดอก และบางครั้งอาจไม่มีก้าน ใต้หมวกดอกมี รูพรุนเรียงกันอยู่อย่างเป็นระเบียบ เพื่อการปลดปล่อยสปอร์ ดอกอาจเกิดเป็นดอกเดี่ยว หรือเกิดพร้อมกันหลายดอก ขนาดดอกใหญ่ หรือเล็กขึ้นอยู่กับสถานที่เกิดและแหล่งอาหารตามธรรมชาติอาจมีสีใต้หมวกเป็นสีขาวหม่น และพบการเกิดของดอกเห็ดตามตอไม่ ผิวของเปลือกไม้ที่ตายแล้ว หรือตามผิวดินที่มีส่วนของต้นไม้เก่าฝังอยู่ จะเรียกชื่อตามลักษณะรูปร่าง สีสันและความเชื่อถือที่มีต่อเห็ด จึงมีชื่อหลากหลายไปตามแต่ละท้องถิ่น